บอกเล่าเก้าสิบ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้”

วันนี้ผมขอแนะนำข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ “โครงการศูนย์ความรู้กินได้” นะครับ
เนื่องจากโครงการนี้เป็นโครงการที่ผมทำงานอยู่ด้วยก็เลยอยากให้เพื่อนๆ รู้ และเข้าใจว่าผมกำลังทำอะไร

knowledge-center

ก่อนที่จะเล่าเรื่องของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ให้ฟัง ผมอาจจะต้องเกริ่นข้อมูลทั่วๆ ไปก่อนนะครับว่า

สถานการณ์เศรษฐกิจในปี 2552 หลายๆ คงได้เรียกสถานการณ์นี้ว่า ?เศรษฐกิจเผาจริง?
จำนวนคนตกงานกว่า 2 ล้านคน นักศึกษาจบใหม่ กว่า 7 แสนคนไม่มีงานทำ
ซึ่งจากสถานการณ์ดังกล่าวคนก็จะกลับสู่ต่างจังหวัดบ้านเกิด

อ่านมาแล้วเพื่อนๆ คงจะงง ว่า มันเกี่ยวอะไรกับ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ใช่มั้ยครับ
ผมก็เลยต้องขอตอบว่า “เกี่ยวสิครับ” เพราะว่าบทบาทของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ คือ

กระตุ้นให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีคุณภาพ โดยการเสนอ และสนับสนุนองค์ความรู้ที่คัดสรรตามความจำเป็น
และความต้องการของกิจกรรมเศรษฐกิจในพื้นที่บนแนวความคิด “เศรษฐกิจบนพื้นฐานความคิดสร้างสรรค์ (Creative economy)”

แล้วเพื่อนๆ ลองคิดต่อนะครับว่า เมื่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจมีคุณภาพ ก็จะทำให้เกิดการจ้างงานในพื้นที่ (คนมีงานทำ)
พอคนมีงานทำก็จะเกิดการจับจ่ายเพื่อการบริโภค และทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ไม่หดตัว

โดยสโลแกนของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้ ที่ผมชอบมากๆ ก็คือ
?เพราะความรู้ ใช้ทำมาหากินได้?

ต่อมาเรามาดูบทบาท ประโยชน์ และสิ่งใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในห้องสมุดดีกว่าครับ

บทบาทหลักของโครงการศูนย์ความรู้กินได้

เป็นศูนย์กลางการบริหารจัดการ และให้บริการองค์ความรู้ตามความต้องการของหน่วยงาน และประชาชนในพื้นที่ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่ ตามสภาพเศรษฐกิจ สังคม และภาระกิจของหน่วยงานต่างๆ

เป็นส่วน ?เติม? มุมมองใหม่ๆ ผ่านทางการจัดนิทรรศการ สัมมนา สร้างต้นแบบเพื่อกระตุ้นให้เกิดการใช้ความรู้ และปัญญาผลิตวิธีการ และแนวคิดใหม่ๆ เพื่อหลุดพ้นจากบริบท หรือกรอบแนวความคิดแบบเดิมๆ

รวบรวมข้อมูล + องค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์จากหลายๆ หน่วยงานหลากหลายพื้นที่มาบริหารจัดการให้เกิดการรับรู้ได้อย่างทั่วถึง เพื่อให้ความรู้ได้ถูกนำไปใช้ + ต่อยอดเกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ๆ เชื่อมโยงออกไปจากระดับจังหวัดไปสู่ระดับประเทศ

ประโยชน์ของโครงการศูนย์ความรู้กินได้
1. ประชาชนสามารถเข้าถึงความรู้ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพได้ในต้นทุนที่ต่ำ
2. การบริหารจัดการความรู้อย่างมีประสิทธิภาพของศูนย์ควมรู้กินได้ เป็นการแบ่งเบภาระของผู้ประกอบการในการดูแลบุคลากรท้องถิ่น
3. หน่วยงานในพื้นที่ได้ประโยชน์จากการเข้าถึงแหล่งความรู้ที่จำเป็นและหลากหลายมากขึ้น

จากสิ่งที่ผมเกริ่น บทบาทของโครงการฯ สโลแกนของโครงการฯ ประโยชน์ของโครงการฯ
เพื่อนๆ คงเกิดคำถามว่า แล้วโครงการนี้ต้องทำอย่างไร ผมก็ขอกล่าวต่อเลยนะครับ

แนวทางในการปฏิบัติของโครงการศูนย์ความรู้กินได้
1. นำเสนอเนื้อหา และรูปแบบความรู้ที่จำเป็นตามความต้องการของพื้นที่
2. สร้างภาพลักษณ์ให้กับอาคารห้องสมุดประชาชนในรูปแบบที่สามารถตอบโจทย์ ในการบริการความรู้ตามที่ได้รับการศึกษาวิจัย
3. เปลี่ยนบทบาทของบรรณารักษ์ให้กลายเป็นผู้ที่ให้บริการความรู้ได้ทุกรูปแบบ
4. นำเสนอนิทรรศการ ?ทำมาหากิน(ได้)? เพื่อแสดงตัวอย่างของความคิด วิธีทำ อุปสรรค และการแก้ปัญหา
5. จัดอบรมสัมมนาเพื่อ ?ทำมาหากิน?
6. ถอดบทเรียน ?ทำมาหากิน? เพื่อเปลี่ยน Tacit Knowledge เป็น Explicit Knowledge

นี่คือข้อมูลทั่วไปของ โครงการศูนย์ความรู้กินได้
หวังว่าเพื่อนๆ จะเข้าใจในจุดประสงค์ และหลักการของโครงการนี้มากขึ้นนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

3 Comments

  1. อ่านหัวข้อตอนแรก นึกว่าจะชวนมาปลูกผัก….ที่แท้ก็เกี่ยวกับการให้ความรุ้ไปทำมาหากิน….อืมมม….เป็นความคิดที่ดีสำหรับคนขยัน….มีอาชีพเป็นของตัวเอง….ไม่ต้องมัวรอแย่งสอบเข้างานนเป็นข้าราชการเงินน้อย….เห้อออ

  2. อยากรู้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงนี้ครับ
    สนใจจะเอาไปใช้ศึกษาวิทยานิพนธ์ ครับ ต้องติดต่อยังไงบ้างครับ

  3. โครงการส่งเสริมองค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อประยุกต์ให้ใช้ได้กับปัจจุบันด้วยรึเปล่าค่ะ ถ้ามีล่ะก็ดีมากเลย ขอยกนิ้วให้กับนักพัฒนานะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*