บรรณารักษ์ขาดแคลนขั้นวิกฤติ จริงๆ หรือนี่

จากข่าวในหนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 12 มีนาคม 2552 หน้า 8

librarian1

ได้ตีพิมพ์เกี่ยวกับเรื่อง “บรรณารักษ์ขาดแคลนขั้นวิกฤติ” ผมจึงขอวิเคราะห์ดังนี้

เพื่อนๆ สามารถอ่านข่าวได้จากการคลิกรูปด้านล่างนี้นะครับ

newspaper

ประเด็นที่พอจะสรุปได้จากการอ่านข่าว คือ
– เด็กรุ่นใหม่ไม่นิยมเรียนบรรณารักษ์ เพราะขาดความก้าวหน้า
– คนเรียนบรรณารักษ์น้อย แต่ตลาดมีต้องการสูง
– ห้องสมุดที่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนบรรณารักษ์ คือ ห้องสมุดประชาชน
– ห้องสมุดต้องนำคนวิชาชีพอื่นมาทำหน้าที่แทนบรรณารักษ์

จากการสรุปประเด็นต่างๆ ของผม ทำให้ผมต้องเอามาวิพากษ์ดังนี้

– เด็กรุ่นใหม่ไม่นิยมเรียนบรรณารักษ์ เพราะขาดความก้าวหน้า
คนส่วนใหญ่คิดว่าเรียนบรรณารักษ์แล้วขาดความก้าวหน้า
จริงๆ แล้วอาจจะเป็นความคิดที่ไม่ถูกต้องเสมอนะครับ
เพราะว่าการที่คนเราจะก้าวหน้าในอาชีพนั้น ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลไม่ใช่ขึ้นอยู่กับอาชีพนะครับ
หลายๆ คนเอาแต่โทษว่าอาชีพว่าทำให้เราไม่ก้าวหน้า
แต่แท้จริงแล้วเราพิสูจน์ให้คนอื่นได้เห็นหรือปล่าวหล่ะครับ
อ๋อ ลืมบอกอีกอย่าง การก้าวหน้าในอาชีพไม่ใช่ว่าจะขึ้นอยู่กับว่า ซีอะไรนะครับ
แต่มันขึ้นอยู่กับการยอมรับในสังคมมากกว่าต่างหากหล่ะครับ

– คนเรียนบรรณารักษ์น้อย แต่ตลาดมีต้องการสูง
ประเด็นเรื่องคนเรียนบรรณารักษ์น้อย อันนี้คงต้องศึกษากันจริงๆ นะครับ
เพราะหลักสูตรของบรรณารักษ์ที่มีในประเทศไทย
หลายๆ มหาวิทยาลัยมีการเปลี่ยนหลักสูตรนะครับ
เช่น การจัดการสารสนเทศ หรือสารสนเทศศาสตร์
ซึ่งจริงๆ แล้วก็ยังมีกลิ่นไอเป็นบรรณารักษ์อยู่นั่นแหละครับ
รวมถึงราชภัฎหลายๆ แห่งยังคงมีหลักสูตรบรรณารักษ์อยู่
เรื่องจำนวนอาจจะน้อยไปถ้าเทียบกับคนในประเทศ

วิธีแก้ง่ายๆ คือ การสนับสนุนหลักสูตรนี้ให้มีความทันสมัยและน่าเรียนให้มากกว่านี้
ปรับปรุงหลักสูตรบรรณารักษ์ให้เข้ากับโลกยุคปัจจุบัน เพื่อให้นักศึกษามีทางเลือกในการประกอบอาชีพ
แค่นี้ก็จะเพิ่มจำนวนนักศึกษาในหลักสูตรบรรณารักษ์ได้แล้วครับ

– ห้องสมุดที่มีปัญหาเรื่องการขาดแคลนบรรณารักษ์ คือ ห้องสมุดประชาชน
อันนี้ผมว่าต้องศึกษากันใหม่อีกทีนะครับ เพราะเท่าที่รู้มาผมก็เห็นว่ามีคนสอบเต็มทุกพื้นที่นะครับ
และที่เพิ่งผ่านมาก็มีบรรณารักษ์ที่ต้องรอเรียกคิวมากมาย รอจนต้องไปทำอาชีพอื่น
อันนี้ผมเลยงงว่า ตกลงเรื่องราวมันเป็นยังไง

– ห้องสมุดต้องนำคนวิชาชีพอื่นมาทำหน้าที่แทนบรรณารักษ์
ส่วนข้อนี้ผมคงไม่วิจารณ์นะครับ เพราะว่าบางคนที่ผมคุยด้วยเขาไม่ได้จบบรรณารักษ์
แต่มีจิตใจที่อยากเป็นบรรณารักษ์จริงๆ และพยายามที่จะเรียนรู้มัน
ผมว่าเราก็ควรให้โอกาสกับคนที่อยากเป็นบรรณารักษ์มากๆ บ้างนะครับ
อาจจะมีการจัดหลักสูตรอบรม หรือ แนะนำการเป็นบรรณารักษ์แบบเร่งรัดให้เขาก็ได้

เอางี้ถามตรงๆ ดีกว่า ว่า
?คนที่ไม่ได้จบบรรณารักษ์แต่อยากเป็นบรรณารักษ์ และพยายามเรียนรู้งานบรรณารักษ์? กับ
?คนที่จบบรรณารักษ์ แต่ไม่ได้อยากเป็นบรรณารักษ์ และทำงานไปวันๆ? คุณจะเลือกใคร

นอกจากการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องดังกล่าวโดยผมแล้ว มีเพื่อนอีกหลายๆ คนแสดงความคิดเห็น เช่น

คุณบรรณารักษ์นอกระบบ ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“ห้องสมุดประชาชนนั้นขาดแตลนบรรณารักษ์จริงครับ ในแต่ละจังหวัดจะมีลูกจ้างชั่วคราวอยู่มากในตำแหน่งบรรณารักษ์ซึ่งทางกศน.ก็ ได้ทำการเปิดสอบไปไม่นานนี้และได้ประกาศผลแล้วตามที่ทุกท่านคงทราบข่าวกัน แต่?ไม่พอหรอกครับ ผมบอกได้เลยเพราะว่าสอบผ่านกัน 282 คน แต่ขาดแคลนมากกว่านี้ครับ 282 คนนี้เรียกบรรจุครบทุกคนแน่ครับ(แต่ใครสละสิทธิ์ก็อีกเรื่องนะครับ) ต่างกันแค่ระยะเวลาแต่ภายใน 2 ปีนี้หมดแน่ครับ แล้วที่บอกว่าเรียนบรรณารักษ์แล้วไม่ก้าวหน้านั้น ขอบอกว่าป่าวเลยครับ เป็นบรรณารักษ์แล้วถ้าขึ้นไปถึงขั้น บรรณารักษ์ 7 ว. เมื่อไหร่ก็โอนไปเป็นข้าราชการครูได้นี่ครับ หรือจะไปเรียนโทเพื่อสอบเป็นผอ.ศูนย์อำเภอ หรือรองผอ.ศูนย์จังหวัดก็ได้ครับ จังหวัดผมรองผอ.ศูนย์จังหวัดมาจากบรรณารักษ์ครับ แล้วจะบอกว่าไม่ก้าวหน้าหรือครับ แล้วพอมีใครสอบได้หรือโอนได้ ตำแหน่งบรรณารักษ์นั้นก็จะว่าง รอคนรุ่นใหม่ไปบรรจุต่อไปไงครับ วันนี้ขออนุญาตกล่าวแค่นี้ก่อนนะครับ หากมีข้อสงสัยประการใดผมจะมาคลายข้อสงสัยอีกครั้งนะครับ”

คุณ Jimmy ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“เรื่องของการบรรจุ ที่เคยเห็นและสัมผัสมาในเรื่องของบรรณารักษ์ห้องสมุดประชาชน บางแห่งว่าจ้างแต่ลูกจ้าง เวลาทางศูนย์สอบถามมาก็บอกว่าไม่ขาดแคลน เนื่องจากการจ้างลูกจ้างกับบรรณารักษ์ อัตราค่าจ้างต่างกัน แล้วลูกจ้างที่ว่าก็เป็นญาติพี่น้องของบรรณารักษ์ที่มีอยู่ก่อนบ้าง เด็กฝากจากท่านผู้ใหญ่ในท้องที่บ้าง แล้วอย่างนี้จะให้มีตำแหน่งว่าได้ยังไง ไม่เข้าใจจริง ๆ เคยไปสอบแล้วต้องเสียความรู้สึกมาก ๆ เมื่อมีคนบอกว่าให้ดูรายชี่อนี้ให้ดี ๆ เพราะนี่คือคนที่จะได้ทำงานที่นี่ ทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้เข้าห้องสอบเลยด้วยซ้ำ แล้วผลก็เป็นอย่างนั้นจริง ๆ ทุกวันนี้เลยไม่คิดจะสอบราชการเลย ทำงานในส่วนของเอกชน ให้รู้ไปว่าจะไม่มีงานทำ เหนื่อยแล้วท้อใจกับระบบนี้จริง ๆ (ระบบเครือญาติ) หลาย ๆ คนอาจจะเถียงว่าไม่จริง แต่ขอโทษมันเกิดขึ้นแล้วค่ะ”

คุณ Nantamalin ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
ถามว่าทำไมถึงขาดแคลนบรรณารักษ์ ตอบเลยว่าเพราะตอนนี้โลกเราเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก เด็กรุ่นใหม่ไม่เข้าใจว่าบรรณารักษ์หมายถึงอะไร ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าสำคัญอย่างไร เดี๋ยวนี้ไม่รู้อะไรก็หาจาก Internet สังคมมันเปลี่ยนเป็นยุค 2.0 หมดแล้ว บรรณารักษ์เปลี่ยนรูปแบบเป็นนักสารสนเทศหมดแล้ว ความสำคัญในการวิเคราะห์หนังสือก็เปลี่ยนมาเป็นวิเคราะห์เนื้อหาของ web แทน บริการตอบคำถามก็เปลี่ยนเป็น e-service แทน สังคมทำให้คำว่าบรรณารักษ์เปลี่ยน หลักสูตรก็สอนให้คนที่เรียนคิดอย่างคนรุ่นใหม่ไม่เจาะลึกเนื้อหา จับแบบผิวเผิน คิดแค่ว่าจับข้อมูลมารวมกันให้เยอะ แล้วเอาลง web ก็เสร็จแล้ว ลืมไปแล้วว่าหัวใจ และจิตวิญญาณของบรรณารักษ์อยู่ที่ไหน แล้วอย่างนี้จะโทษใครคงไม่ได้ เพราะสังคมเปลี่ยนไป ทุกอย่างก็เปลี่ยนไปเป็นเรื่องธรรมดา แต่วันนี้วิชาบรรณารักษ์จะกลับมาเมื่อยุคดิจิตอลล่มสลาย เพราะมีสูงสุดย่อมมีต่ำสุด?มันก้เป็นเช่นนั้นเอง”

คุณ yayaing ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า
“โดยส่วนตัวแล้ว?เคยทำงานที่ห้องสมุดประชาชนเหมือนกันค่ะ..ตำแหน่ง บรรณารักษ์อัตราจ้าง ทำสัญญาปีต่อปีกัน?ทำอยู่ประมาณ 2 ปีครึ่งน่ะคะ..หมดสัญญาจ้างแล้วก้อไม่ได้ต่ออีก..ตอนนี้ทำงานอยู่ที่ มหาวิทยาลัย แต่ก้อไม่ได้ทำงานกับห้องสมุดหรอกนะคะ..แต่ตอนนี้มาทำงานทางด้านวารสาร.. ซึ่งเหมือนก่อนนี้ตอนที่เรียนนะคะ..จำได้ว่ามีเรียนวิชาเกี่ยวกับการพิมพ์ แล้วอาจารย์พาไปดูงานตามโรงพิมพ์..ยังเคยคิดเล่นๆ ว่าไม่เกี่ยวกับเราตรงไหน..แต่พอมาทำงานจริงๆๆ..กลับเกี่ยวกับเราเต็มๆ เลย ยังดีที่เก็บเอกสารที่เรียนไว้อยู่น่ะคะ?ก้ออยากจะเข้ามาบอกว่าทุกวิชาที่ เราได้เรียนน่ะ?บางวิชาอาจจะคิดว่าไม่เกี่ยวกับเรา แต่จริงๆ แล้วอาจจะมีประโยชน์ก้อได้นะคะ?ส่วนเรื่องที่ว่าการขาดแคลนบรรณารักษ์..คิด ว่าตามราชภัฏต่างๆ ก้อมีคนที่เรียนบรรณารักษ์เยอะนะคะ..แต่เมื่อเรียนจบ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยได้มาทำงานที่ตัวเองเรียนหรอกค่ะ บางคนหางานไม่ได้..หรือบางคนก้อคือไม่ชอบงานห้องสมุดไปเลยก้อมี..แต่อยากจะ ให้กำลังใจสำหรับผู้ที่หางานทุกคนนะคะ (โดยเฉพาะผู้ที่เรียนจบบรรณารักษ์น่ะคะ) ตัวเองเคยมีประสบการณ์มาก่อน?.ไม่อยากให้คนอื่นต้องเป็นเหมือนตัวเองน่ะคะ”

จริงๆ แล้วยังมีอีกหลายๆ คนที่แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้นะครับ
ผมก็ต้องขอขอบคุณทุกคนที่แสดงความคิดเห็นต่างๆ เข้ามาด้วยเช่นกัน

สรุปแล้วเรื่องที่ผมนำมาวิจารณ์ในครั้งนี้ ไม่ว่าจะจริง หรือ เท็จแค่ไหน
ผมก็อยากจะบอกและพูดกับทุกคน ว่า

?ถึงแม้ว่าอาชีพบรรณารักษ์จะเป็นอาชีพที่คนในสังคมไทยไม่เคยให้ความสำคัญ
แต่ขอให้จำเอาไว้ว่าเราเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างความสำคัญให้สังคมไทย
ทุกอาชีพ ทุกคน ต้องเคยผ่านสถานที่ที่เราทำงาน (ห้องสมุด)?

ขอบคุณครับที่ทนอ่านบล็อกยาวๆ ครั้งนี้

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

3 Comments

  1. เป็นข้อมูลที่น่าศึกษาต่อ ครรับ ขอบคุณสำหรับคำวิจารณ์

  2. ไม่ใช่บรรณารักษ์ขาดแคลน แต่ เป็นเพราะโอกาสทางสังคม และมามองกันตรงที่ผู้บริหารคิดว่าทำแทนกันได้
    จาก…..ผู้เรียนจบบรรณารักษ์

  3. ความคิดเห็นบางส่วนน่าสนใจ ขออนุญาตินำบางประโยคไปโพสให้คนอื่นอ่านด้วยนะคะ

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*