หลักสูตรเพื่อนักศึกษาบรรณารักษ์รุ่นใหม่ (ICS)

วันนี้ผมขอนำหลักสูตรวิชาบรรณารักษศาสตร์ในต่างประเทศมาให้ดูอีกสักหน่อย
เผื่อว่านักพัฒนาหลักสูตรบรรณารักษศาสตร์ในบ้านเราจะแวะเข้ามาอ่านในบล็อกผมบ้าง

ics

ผมไม่ได้ต้องการเปรียบเทียบหลักสูตรบรรณารักษ์ในต่างประเทศกับในประเทศไทย
เพียงแค่อยากให้หลายๆ คนได้เห็นว่าต่างประเทศตอนนี้วิชาบรรณารักษ์เปลี่ยนไปถึงไหนกันแล้ว

หลักสูตรที่ผมจะแนะนำวันนี้ ชื่อหลักสูตรว่า “ICS (Information and Communication Science)”
หรือถ้าผมจะแปลเป็นภาษาไทยคงเทียบกับหลักสูตร “สารสนเทศศาสตร์และการติดต่อสื่อสาร”
สาขาวิชานี้จะเน้นให้ผู้เรียนเข้าใจถึงทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ การจัดการสารสนเทศ
รวมถึงการสร้างช่องทางในการเข้าถึงสารสนเทศในรูปแบบใหม่ๆ

หลักสูตรที่ผมจะนำมาให้ดต่อไปนี้เป็นหลักสูตรสำหรับนักศึกษาปริญญาตรีนะครับ (เรียน 4 ปี)
เราลองไปดูกันเลยดีกว่าว่า 4 ปีของเด็กภาควิชานี้จะต้องเรียนอะไรกันบ้าง

ปีที่ 1 ประกอบด้วยการเรียน
– Introduction to Information and Communication
– Web Content Design
– Media Literacy
– Media Competencies
– Introduction to Programing Language
– Introduction to Digital Content
– Inforn=mation Literacy

ปีที่ 2 ประกอบด้วยการเรียน
– Designing of Interactive Procedure
– Image Digitizing
– Guide to Professional Literature in English
– Computer Networks and Communications
– Communication theories
– Introduction to Taxonomy
– Markup Language

ปีที่ 3 ประกอบด้วยการเรียน
– Computer Networks and Communications
– Knowledge Organization
– Studies on Information use
– Fundamental Data Analysis
– Database Management System
– Studies in Information Services and Marketing
– Praticum on Information & Communication 1

ปีที่ 4 ประกอบด้วยการเรียน
– Networks Communications
– Metadata
– System Analysis
– Information Institutions Management
– Praticum on Information & Communication 2

หลักสูตรที่ได้เห็นนี้ผมขอแยกออกมาเป็นสายวิชาด้านต่างๆ ดังนี้
1. สายวิชาด้านคอมพิวเตอร์
2. สายวิชาด้านการตลาด หรือธุรกิจ
3. สายวิชาด้านการจัดการสารสนเทศ

และนี่แหละครับหัวใจของหลักสูตรนี้ ผมจึงขอบอกว่าบรรณารักษ์รุ่นใหม่
นอกจากการจัดการด้านสารสนเทศแล้วยังต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น
และแถมด้วยหัวสร้างสรรค์ในการทำกิจกรรม รวมถึงด้านธุรกิจด้วย

จริงอยู่ที่ห้องสมุดไม่ใช่องค์กรธุรกิจ แต่ถ้าเรามองในภาพธุรกิจ
เข้าใจผู้ใช้บริการ เหมือนที่เราเข้าใจลูกค้า นั่นก็จะทำให้เราทำงานได้ดียิ่งขึ้น

สำหรับเพื่อนๆ ที่ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรนี้
เพื่อนๆ สามารถเข้าไปดูได้ที่เว็บไซต์ของภาควิชา ICS ที่? http://ic.shu.edu.tw/

สำหรับวันนี้ผมก็ต้องขอตัวไปหาเรื่องอ่านต่อก่อนนะครับ

About libraryhub 883 Articles
นายเมฆินทร์ ลิขิตบุญฤทธิ์ (วาย) ผู้เขียนบล็อกที่เกี่ยวกับห้องสมุดและบรรณารักษ์เป็นงานอดิเรก ปัจจุบันเขียนบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดมาแล้ว 700 กว่าเรื่อง และให้บริการเป็นที่ปรึกษาด้านงานต่างๆ ในห้องสมุด สิ่งที่อยากบอกหลายๆ คน คือ "ผมไม่ใช่ผู้เชียวชาญด้านห้องสมุด แต่ผมก็เป็นคนธรรมดาคนนึงที่เขียนบล็อกห้องสมุดก็เท่านั้นเอง"

3 Comments

  1. ขอบคุณ นะค่ะที่แชรฺเรื่องดีๆให้ชาวบรรณารักษ์ของเราได้ทันเหตุการณ์ในโลกปัจจุบัน
    ว่าบรรณารักษ์ยุคใหม่ สมควรเป็นอยางไร

  2. สวัสดีค่ะ พี่เป็นอีกคนที่ติดตามอ่าน บล็อกที่คุณเขียนมาตลอด เป็นครั้งแรกที่เข้ามาเม้น ขอชื่นชมคุณมากที่พยายาม เขียนเรื่องราวดีๆ ผลักดัน ยกระดับ วิชาชีพบรรณารักษ์ และไม่ว่าคุณจะเปลียนบล็อกใหม่พี่ยังตามมาอ่านและขอให้กำลังใจคุณ นะ เพราะบางทีคนไม่เข้าใจก็มาบ่นคุณ(ที่บล็อกเก่า) แต่มีอีกตั้งหลายคนที่ชื่นชมคุณอยากอ่านเรื่องที่คุณเขียน สิ่งหนึ่งที่พี่เชื่อ ถ้าไม่มีบรรณารักษ์ หลายคนคงลำบาก บางคนอาจค้านพี่ขณะกำลังอ่าน แต่เชื่อมั้ย ต่อให้เก่งขนาดใหน สารสนเทศเยอะแยะมากมายจะล้นโลกอยู่แล้วและไม่มีวันจะหยุดนิ่ง ถ้าไม่มีบรรณารักษ์ พวกเค้าก็ หาได้ แต่คงใช้เวลานาน และ หงุดหงิดใจแน่นอน ในขนาดที่เรากำลังตามให้ทันเทคโนโลยี เพื่อที่จะเพิ่มความสะดวกสะบายให้ผู้ใช้ คุณจงภูมิใจเถอะ ว่าใครมันพัฒนากันแน่ สู้ต่อไปนะเขียนต่อไป พี่เชื่อว่าสิ่งที่คุณเขียนมันกำลังพัฒนาคนที่มีความคิดสร้างสรรนะ อิอิ แค่เข้ามาอ่าน ก็เท่ากับสร้างสรรสิ่งดีๆให้ชีวิตแล้ว สู้ต่อไปนะ คุณวาย (Y)

  3. พี่วายครับ ดูหลักสูตรแล้วคล้ายๆกับที่ผมเรียนเลย

    การจัดการสารสนเทศ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คับ

    ที่นี่ก็แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มสาขาวิชาเหมือนกัน

    1.Content Management (คือกลุ่มที่เรียนไปทางบรรณารักษ์)

    2.Media Management (คือกลุ่มที่เรียนไปทางสื่อ และเผยแพร่สื่อ)

    3.Information Technology Management (คือกลุ่มที่เรียนไปทางการค้นคืนสารสนเทศ ระบบ และวิเคราะห์ระบบ)

Leave a Reply

Your email address will not be published.


*